ระเบียบวาระที่  ๓  เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา

                                                     .๑  รายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  ในพระบรมราชูปถัมภ

 

สรุปเรื่อง

 

ด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๖ ของพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี ที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดินพร้อมกำหนดว่าในแต่ละปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ โดยให้ระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่จำเป็นต้องใช้ และจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ซึ่งมีรอบระยะเวลานับตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๙ บัดนี้รอบระยะเวลาของปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ได้สิ้นสุดลง มหาวิทยาลัยจึงได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้สภามหาวิทยาลัย พิจารณาการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง   เพื่อจัดส่งรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙ ตามกระบวนการต่อไป

 

                                ปีงบประมาณ ๒๕๔๙  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) ได้กำหนดกรอบในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ๔ มิติและค่าน้ำหนักในการคำนวณเป็นร้อยละ  ๑๐๐  ดังนี้

 

                                มิติที่ ๑.   มิติด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ (น้ำหนักร้อยละ ๕๕ )

                                                ตัวชี้วัดที่ ๑ เป็นการประเมินผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง  ผลการดำเนินงาน N/a (รอผลการประเมินของกระทรวงศึกษาธิการ) น้ำหนักร้อยละ ๑๐ค่าคะแนนที่ได้ ๑.๐๐๐๐ คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๑๐.๐๐๐

                                                ตัวชี้วัดที่ ๒ เป็นการประเมินผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา  น้ำหนักร้อยละ ๕ ผลการดำเนินงาน N/a (รอผลการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา) ค่าคะแนนที่ได้ ๑.๐๐๐๐ คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๕.๐๐๐

ตัวชี้วัดที่ ๓  เป็นการประเมินผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ น้ำหนักร้อยละ ๑๕ โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร (เอกสารแนบหมายเลข ๑) โดยสรุป ผลการดำเนินงาน ๔.๗๐๒๑ ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๗๐๒๑ คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๗๐.๕๓๒๑ (มีตัวชี้วัดย่อย จำนวน ๒๗ ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ ๔  เป็นการประเมินผลสำเร็จในการบรรลุมาตรฐานคุณภาพของ สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) น้ำหนักร้อยละ ๒๕ โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร (เอกสารแนบหมายเลข ๑) โดยสรุป ผลการดำเนินงาน  ๔.๐๗๐๘  ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๐๗๐๘  คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๑๐๑.๗๖๐ มีตัวชี้วัดย่อยแบ่งออกได้เป็น ๕ มาตรฐานดังนี้

๔.๑ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต (น้ำหนักร้อยละ ๗.๒๓ )

 - มีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๔ ตัวชี้วัด

   ผลกการดำเนินงาน ๔.๐๒๐๘  ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๐๒๐๘  คะแนน

   คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๒๙.๐๗๐ รายละเอียดตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร

   (เอกสารแนบหมายเลข ๑)

                                                ๔.๒ มาตรฐานด้านการวิจัยและงานสร้างสรรค์ (น้ำหนักร้อยละ ๕.๒๙)

- มีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๓ ตัวชี้วัด

   ผลกการดำเนินงาน ๓.๕๖๖๔  ค่าคะแนนที่ได้ ๓.๕๖๖๔  คะแนน

   คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๑๕.๓๐๐ รายละเอียดตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร

   (เอกสารแนบหมายเลข ๑)

                                                ๔.๓ มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ (น้ำหนักร้อยละ ๖.๓๗ )

- มีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๓ ตัวชี้วัด

   ผลกการดำเนินงาน ๔.๐๕๘๑  ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๐๕๘๑  คะแนน

   คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๒๕.๘๕๐ รายละเอียดตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร

   (เอกสารแนบหมายเลข ๑)

                                                ๔.๔ มาตรฐานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (น้ำหนักร้อยละ ๒.๙๔ )

- มีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๕ ตัวชี้วัด

   ผลกการดำเนินงาน ๕.๐๐๐๐  ค่าคะแนนที่ได้ ๕.๐๐๐๐  คะแนน

   คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๑๔.๗๐๐ รายละเอียดตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร

   (เอกสารแนบหมายเลข ๑)

                                                ๔.๕ มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพภายใน และด้านการบริหารจัดการ

(น้ำหนักร้อยละ ๔.๑๗ )

- มีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๕ ตัวชี้วัด

   ผลกการดำเนินงาน ๔.๐๔๐๘  ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๐๔๐๘  คะแนน

   คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๑๖.๘๕๐ รายละเอียดตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร

   (เอกสารแนบหมายเลข ๑)

 

                                มิติที่ ๒.  มิติด้านคุณภาพการให้บริการ  (น้ำหนักร้อยละ ๑๕)

เป็นการประเมินคุณภาพการให้บริการ, การประกันคุณภาพ, และการปฏิบัติ

ตามจรรยาบรรณวิชาชีพคณาจารย์  มีตัวชี้วัดหลัก ๓ ตัวชี้วัด และมีตัวชี้วัดย่อยจำนวน ๓ ตัวชี้วัดโดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร (เอกสารแนบหมายเลข ๑)  โดยสรุป ผลการดำเนินงาน ๓.๙๓๓๓  ค่าคะแนนที่ได้ ๓.๙๓๓๓  คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๕๙.๐๐๐

 

มิติที่ ๓.  มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ  (น้ำหนักร้อยละ ๑๐)

                                                เป็นการประเมินประสิทธิภาพของการบริหารงบประมาณ, ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน, การลดระยะเวลาการให้บริการ และการจัดทำต้นทุนต่อหน่วย โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร (เอกสารแนบหมายเลข ๑) โดยสรุป ผลการดำเนินงาน ๔.๓๗๔๔ ค่าคะแนนที่ได้ ๔.๓๗๔๔ คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๔๓.๗๔๓๘

 

มิติที่ ๔.  มิติด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร (น้ำหนักร้อยละ ๒๐)

                                                เป็นการประเมินความสำเร็จของการบริหารจัดการ, การจัดการความรู้,

 การพัฒนาบุคลากร,การจัดการสารสนเทศ และการเรียนรู้  โดยมีรายละเอียดตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย และผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙  ตามตารางสรุปผลท้ายเอกสาร (เอกสารแนบหมายเลข ๑) โดยสรุป ผลการดำเนินงาน ๓.๓๓๕๐ ค่าคะแนนที่ได้ ๓.๓๓๕๐ คะแนนถ่วงน้ำหนัก ๖๗.๑๐๐

 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

(๑)  สรุปผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙

(๒) รายงานผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙

ประเด็นเสนอเพื่อพิจารณา

                                พิจารณาการรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๙

 

 มติสภามหาวิทยาลัย

                          .......................................................................